เมนู

ว่า เราเคี้ยว เราบริโภคข้าวมีสีสวย มีกลิ่นหอม มีรสอร่อย นิ่มนวล
ดังนี้ ไม่ควร. แต่การพูดทำให้มีประโยชน์ว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายข้าว
น้ำ ผ้า ที่นอน ดอกไม้ ของหอม อันถึงพร้อมด้วยสีเป็นต้น แก่ท่าน
ผู้มีศีล เราได้บูชาพระเจดีย์อย่างนี้ ดังนี้ ย่อมควร.

ก็ในเรื่องญาติเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


การพูดเกี่ยวกับความพอใจว่า ญาติของพวกเรากล้า สามารถ
ดังนี้ก็ดี ว่าเมื่อก่อนเราเที่ยวไปด้วยยานอันสวยงามอย่างนี้ ดังนี้ก็ดี ไม่
ควร. แต่ควรจะพูดให้มีประโยชน์ว่า ญาติของพวกเราแม้เหล่านั้น ก็
ตายไปแล้ว หรือว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าอย่างนี้แก่พระสงฆ์ ดังนี้.

ก็ในเรื่องบ้านเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


แม้พูดเรื่องบ้านที่เกี่ยวกับเรื่องว่า อยู่อาศัยดี อยู่อาศัยไม่ดี ข้าว
ปลาหาได้ง่าย และข้าวยากหมากแพงเป็นต้น หรือที่เกี่ยวกับความพอใจ
อย่างนี้ว่า ชาวบ้านโน้นกล้า สามารถ ดังนี้ ไม่ควร แต่พูดให้มีประโยชน์
ว่า ชาวบ้านโน้มมีศรัทธาเลื่อมใส หรือว่า ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้
ควรอยู่. แม้ในเรื่องนิคม นคร ชนบท ก็นัยนี้แหละ.
แม้เรื่องหญิงที่เกี่ยวกับความพอใจอาศัยผิวพรรณและทรวดทรง
เป็นต้น ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า หญิงคนโน้นมีศรัทธาเลื่อมใส ถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้แหละ ควรอยู่.
แม้เรื่องคนกล้าที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ทหารชื่อนันทมิตเป็นคน
กล้า ดังนี้ ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า ทหารเป็นผู้มีศรัทธา ถึงความสิ้นไป
ดังนี้แหละ ควรอยู่.

แม้เรื่องตรอกที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ตรอกโน้นอยู่ดี อยู่ไม่ดี มี
คนกล้า มีคนสามารถ ดังนี้ ไม่ควร. พูดอย่างนี้ว่า ตรอกโน้นมีคน
มีศรัทธาเลื่อมใส ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ควรอยู่.
บทว่า กุมฺภฏฺฐานกถํ ได้แก่การพูดเรื่องที่ตั้งน้ำ การพูดเรื่อง
ท่าน้ำ ท่านเรียกว่ากุมภทาสีกถาก็มี. พูดเกี่ยวกับความพอใจว่า นาง
กุมภทาสีแม้นั้น น่าเลื่อมใส ฉลาดฟ้อนรำ ขับร้อง ดังนี้แหละ ไม่ควร.
แต่พูดโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส ดังนี้แหละ ควรอยู่.
บทว่า ปุพฺพเปตกถํ ได้แก่พูดเรื่องญาติในอดีต. ข้อวินิจฉัยก็เหมือน
กับพูดเรื่องญาติปัจจุบันในที่นั้น ๆ.
บทว่า นานตฺตกถา ได้แก่พูดเรื่องไร้ประโยชน์ เป็นเรื่องต่าง ๆ
ที่เหลือพ้นจากคำต้นและคำปลาย.
บทว่า โลกกฺขายิกา ความว่า การพูดเล่นเกี่ยวกับโลก เป็นต้น
อย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนโน้นสร้าง กาสีขาวเพราะกระดูกขาว
นกตะกรุมสีแดงเพราะเลือดแดง ดังนี้.
ที่ชื่อว่า พูดเรื่องทะเล ได้แก่ถ้อยคำที่กล่าวถึงทะเลอันไร้ประโยชน์
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ทะเลชื่อว่าสาคร เพราะเหตุไร ? เพราะพระเจ้าสาครเทพ
ขุดไว้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สาคร ที่ชื่อว่า สมุทร เพราะประกาศด้วยหัวแม่มือ
ว่า สาคร เราขุดไว้ ดังนี้.
บทว่า ภโว แปลว่า ความเจริญ.
บทว่า อภโว แปลว่า ความเสื่อม.
ถ้อยคำที่พูดกล่าวถึงเหตุไร้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า เจริญ
เพราะเหตุนี้ เสื่อมเพราะเหตุนี้ ดังนี้ ชื่อว่า พูดเรื่องความเจริญความ

เสื่อม ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วิคฺคาหิกกถา ได้แก่การพูดแก่งแย่ง การพูดแข่งดี.
บทว่า สหิตํ เม ในอธิการนั้น ความว่า คำพูดของข้าพเจ้ามี
ประโยชน์ สละสลวย ประกอบด้วยผล ประกอบด้วยเหตุ.
บทว่า อสหิตนฺเต ได้แก่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละ
สลวย.
บทว่า อธิจิณฺถเนเต วิปฺปราวตฺตํ ได้แก่ข้อที่ท่านคล่องแคล่ว
เป็นอย่างดี ด้วยอำนาจเคยสั่งสมมาเป็นเวลานานนั้น ได้ผันแปรไปแล้ว
คือบิดเบือนไปแล้ว ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้นของเรา ท่านยังไม่รู้อะไร.
บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ความผิดในวาทะของท่าน
ข้าพเจ้าจับได้แล้ว.
บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า เพื่อเปลื้องความผิด ท่าน
จงเที่ยวไปเที่ยวมา จงไปศึกษาในข้อนั้น ๆ เสีย.
บทว่า นิพฺเพเฐหิ วา สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านเองสามารถ
ก็จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว.

ในเรื่องการทำตัวเป็นทูต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


บทว่า อิธ คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นี้สู่ที่ชื่อโน้น.
บทว่า อมุตร คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นั้นสู่ที่ชื่อโน้น.
บทว่า อิทํ หร ความว่า จงนำเรื่องนี้ไปจากที่นี้.
บทว่า อมุตฺร อิทํ อาหร ความว่า จงนำเรื่องนี้จากที่โน้นมา
ในที่นี้.